การเทรด forex นั้นเรียกได้ว่าเป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่ง เพราะนอกจากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตามเทคนิคของนักเทรดแต่ละคนแล้ว การตัดสินใจที่จะเทรดในช่วงเวลาไหนและเมื่อไหร่ รวมถึงการเลือกใช้กลยุทธ์ในการเทรดให้เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่นักเทรดแต่ละคนมีแนวทางของตนเองที่ไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่นักเทรดทุกคนต้องให้ความสำคัญเหมือนกันก็คือปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่ส่งผลให้เกิดให้เกิดความผันผวนในระยะสั้นในตลาดสกุลเงินรวมถึงการเปลี่ยนแปลงในความเชื่อมั่นของตลาดที่เป็นปัจจัยสำคัญที่นักเทรดต้องให้ความสนใจ
ปัจจัยที่สำคัญทางเศรษฐกิจที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดประกอบไปด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้
- อัตราดอกเบี้ย องค์ประกอบสำคัญในการประเมินสกุลเงินหนึ่งเมื่อเทียบกับสกุลอื่นก็คืออัตราดอกเบี้ย หากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นสกุลเงินของประเทศจะกลายเป็นที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
- อัตราเงินเฟ้อ หากประเทศใดอยู่ในวัฎจักรเงินเฟ้อที่มีข้อบ่งชี้โดยดัชนีราคาผู้บริโภคและผู้ผลิต ซึ่งดัชนีทั้งสองอย่างนี้จะทำให้ธนาคารกลางของประเทศนั้นปรับอัตราดอกเบี้ยให้มากขึ้นเพื่อที่จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น จึงมีแนวโน้มที่จะทำให้สกุลเงินของประเทศนั้นแข็งค่าขึ้น
- การขาดดุลการค้าหรือดุลบัญชีเดินสะพัดหรือการขาดดุลอาจสนับสนุนอัตราสกุลเงินของประเทศที่มีการเกินดุลหรือทำให้อัตราการค้าขาดดุลลดลง
- เครดิตการกู้ยืมเงิน ปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนโดยตรงก็คือการกู้เงิน หากประเทศใดมีการยืมเงินจำนวนมหาศาลจากประเทศอื่นหรือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ สกุลเงินของประเทศจะสะท้อนระดับความรุนแรงของหนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมดังกล่าว
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หมายถึงสินค้าและบริการทั้งหมดที่ประเทศผลิตและสะท้อนถึงระดับการเติบโตของเศรษฐกิจ
- ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาจส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนเมื่อประเทศเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์สุทธิและหากประเทศมีการนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์จำนวนมาก
- ข้อมูลการจ้างงาน หากประเทศใดมีสัดส่วนการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นก็มีแนวโน้มที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสกุลเงินของประเทศนั้น
- การผลิตภาคอุตสาหกรรม ฐานอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งจะมีแนวโน้มสร้างความแข็งแกร่งให้กับสกุลเงินของประเทศ
- ตัวเลขการค้าปลีกที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งที่สะท้อนภาพของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของค่าสกุลเงิน
- ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เป็นตัววัดภาวะเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในประเทศบ่งชี้ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจจะถูกควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดโดยธนาคารกลางแห่งชาติและจะมีแนวโน้มที่จะทำให้สกุลเงินของประเทศมีแนวโน้มที่จะแข็งแกร่งมากขึ้น
นักเทรด forex ไม่ควรมองข้ามปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้